วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิสุทธิ์ ขาวเนียม นักเขียนเมืองตรัง

ชมภาพชุด วิสุทธิ์ ขาวเนียม กวีหนุ่มชาวตรัง รับรางวัลชนะเลิศ ‘เซเว่นบุ๊คอวอร์ด’ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 หนังสือประเภทกวีนิพนธ์ ‘ลมมลายู’


สูจิบัตร ผลการประกวดหนังสือดีเด่น รางวัล 'เซเว่นบุ๊คอวอร์ด'
รายนามคณะกรรมการตัดสิน ประเภทกวีนิพนธ์
คำนิยม ของคณะกรรมการตัดสิน
ปกหนังสือ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก
(เป็นหนังสือเล่มแรกของสำนักพิมพ์ฅนตรัง)
วิสุทธิ์ ขาวเนียม ตอนสายๆ ของวันรับรางวัล
28 พฤศจิกายน 2551
เขาแต่งตัวหล่อกว่าตอนอยู่ที่บ้าน วันที่ไปดักกระรอก ยิงนก ตกปลา กับเด็กๆ ข้างบ้าน ค่อนข้างมาก
มาดูกันใกล้ๆ โฉมหน้ากวีหนุ่มชาวตรัง
ผลงานที่ภาคภูมิใจ... นานแล้ว ที่คนจังหวัดตรัง ไม่ได้รับรางวัลประเภทนี้
อืมมมม... อีก 2 ปี ข้างหน้า ผมน่าจะกลับมากรุงเทพฯอีกครั้ง เพื่อรับรางวัลซีไรต์...
เอ้า... ต่างคนต่างถือ  'ลมมลายู' ใหญ่กว่า ก็แหม... ขนาด เอ4 เชียวนะนั่น...
เขินสิท่า... ถ่ายกับพี่จิ๊ด จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ชาวตรัง
รับโล่พระราชทาน ในสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ
รับรางวัลจากรองวศิษฐ์ เดชกุญชร ณ อยุธยา
หายเหนื่อยครับ...
โล่รางวัลสำหรับสำนักพิมพ์ฅนตรัง ที่วิสุทธิ์เป็นผู้รับแทน
เอ้า...มาถ่ายภาพกันหน่อย... มองกันไปคนละทางเลยเชียว...
คณะกรรมการ...
เสริมความหล่อ ก่อนจะบันทึกเทปรายการโทรทัศน์ ช่อง 5
วิสุทธิ์บอกว่า จะออกอากาศวันที่ 5 ธ.ค. 51 เวลา 9 โมงเช้า
เสร็จแล้ว...ลงเรือข้ามฟาก ม่ายรู้จะไปไหนกัน...
แม่น้ำเจ้าพระยา ยามเย็น สวยจัง...
ชมภาพชุด วิสุทธิ์ ขาวเนียม กวีหนุ่มชาวตรัง
รับรางวัลชนะเลิศ เซเว่นบุ๊คอวอร์ด’ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551
หนังสือประเภทกวีนิพนธ์ ลมมลายู

             วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 วิสุทธิ์ ขาวเนียม กวีหนุ่มชาวตรัง เดินทางไปรับรางวัลชนะเลิศ เซเว่นบุ๊ค อวอร์ด ประเภทกวีนิพนธ์ลมมลายู’ ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร
             กวีนิพนธ์ ลมมลายู เป็นหนังสือรวมบทกวีชุดที่กำลังเผยแพร่อยู่ในหนังสือพิมพ์ฅนตรัง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายปักษ์ของจังหวัดตรัง และส่งเข้าประกวดครั้งนี้ในนามของสำนักพิมพ์ฅนตรัง โดยจัดพิมพ์เพียงจำนวนน้อยเพื่อการส่งเข้าประกวดเท่านั้น
             ท่านผู้อ่านที่มีความสนใจหนังสือเล่มนี้ โปรดรอคอยการพิมพ์ครั้งต่อไป ที่กำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม นี้
             อนึ่ง วิสุทธิ์ ขาวเนียม เคยเป็นนักเขียนเจ้าของผลงาน วิหารใบไม้ ซึ่งเข้ารอบ 16 คนสุดท้าย ในการประกวดชิงรางวัลซีไรต์ ประเภทบทกวี เมื่อปีที่แล้ว (2550)

...........................................................

คำนิยม โดย วานิช สุนทรนนท์
บรรณาธิการสำนักพิมพ์ฅนตรัง
ในโอกาสพิมพ์ ‘ลมมลายู ครั้งแรก พฤษภาคม 2551

ลมมลายู วิสุทธิ์ ขาวเนียม...
บทกวีที่จดจารสวยงามถึงความรวดร้าว
ของคนบนแผ่นดิน 3 จังหวัดภาคใต้


             ความจริงแล้ว ผมเพิ่งรู้จักกับวิสุทธิ์ ขาวเนียม มาได้ไม่นานนัก...
             พลันที่โบกมืออำลาจากชีวิตการเมืองในท้องถิ่นเล็กๆ แห่งหนึ่ง เพื่อหันเหลมหายใจให้มาสู่เส้นทางของคนทำหนังสือพิมพ์ ผมก็รู้สึกได้ว่ามีคนอย่างน้อยๆ ก็กลุ่มหนึ่งที่เฝ้ามองว่า ผมกำลังจะทำหนังสือพิมพ์ฅนตรัง ด้วยใจที่ต้องการจะส่งสาส์นและสาระสู่ชุมชนท้องถิ่นจริงๆ หรือเพียงจะอาศัยหนังสือพิมพ์เล็กๆ ฉบับนี้ไปเสาะแสวงผลประโยชน์ใด
             กวีหนุ่มอย่าง วิสุทธิ์ ขาวเนียม ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการกล่าวขานถึงในฝีไม้ลายมือที่เนียนนุ่ม เฉียบคม ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ให้ความสนใจมาตั้งแต่ผมออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกๆ เราเคยพบปะพูดคุยกันครั้งหนึ่ง แต่ยังไปไม่ถึงวาระที่จะขอบทกวีดีๆ เพื่อนำมาลงตีพิมพ์ แม้ลึกๆ ภายในขณะนั้นอยากจะเรียกร้องเสียเหลือเกินแล้ว แต่รับรู้และเข้าใจได้ว่าเป็นห้วงยามของการดูใจ
             เวลาผ่านพ้นไปเป็นปี เรามาพบกันอีกที วันที่วิสุทธิ์ไปพูดในงานมหกรรมหนังสือภาคใต้ ที่จัดขึ้นมาเพื่อคนทับเที่ยง ก่อนจะแยกย้ายกันกลับหลังเลิกงาน วิสุทธิ์มากระซิบกับผมว่า พี่อย่าเพิ่งไป เดี๋ยวเอากลอนผมไปลงด้วย
             เป็นความรู้สึกดีๆ ที่เป็นสุขขึ้นในฉับพลัน มิเพียงเพราะผมจะมีบทกวีระดับคุณภาพมาประดับหน้าวรรณกรรมให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น แต่ใช่หรือไม่ว่า คำบอกเล่าเพียงสั้นๆ เช่นนั้น ย่อมคล้ายจะบอกย้ำให้รับรู้ว่า รอยย่ำที่ผมเริ่มไว้บนเส้นทางสายนี้ น่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้คนมากขึ้น จากวันนั้นมาจนถึงวันนี้ หนังสือพิมพ์ฅนตรังได้รับน้ำใจดีๆ จากวิสุทธิ์ในรูปแบบของบทกวีที่สวย งาม และเพียบพร้อมด้วยคุณค่ามานับจำนวนไม่ถ้วนแล้ว        
 จู่ๆ วันหนึ่งในร้านกาแฟใจกลางเมืองตรัง วิสุทธิ์ได้นำต้นฉบับ ‘ลมมลายู ซึ่งหนากว่าสี่สิบหน้าพิมพ์ฉบับนี้ มาให้ผมดู… ใกล้จะสามสิบปี ที่ผมเรียนจบมาจากมหาวิทยาลัยริมทะเลแห่งเมืองปัตตานี วันเวลาผ่านไปนานพอที่จะหลงลืมเสียงสวดของคนที่นั่น แต่ทันทีที่อ่าน ‘ลมมลายูจากบทแรกไปจนจบที่บทสี่สิบห้า ภาพต่างๆ ของถิ่นที่เคยก่อให้เกิดความใฝ่ฝันสวยงามในวันยังหนุ่มก็พลันหลั่งไหลกลับเข้ามาสู่ความทรงจำ  
ต่างกัน... ตรงวันนี้ ผืนดินที่นั่นฉาบทาไปด้วยสีของความเจ็บปวด และเสียงร้องไห้ อย่างไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด...
            การจดจารบทกวีที่สวย เนียน และสะท้อนให้เห็นถึงชีวิต เลือด เนื้อ ความรุนแรง การสูญเสีย ความรวดร้าวของคนบนแผ่นดินที่นั่น จึงไม่ใช่ความผิดใดๆ ของกวีหนุ่มอย่าง วิสุทธิ์ ขาวเนียม...

http://www.oknation.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น