วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
- การเมืองค่อนข้างมั่นคง
- รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
- ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
- ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
- จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
- สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
- วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
- จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
- ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
- มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
- เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
- ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
- ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
- สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
- มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- นิยมใช้มือกินข้าว
- ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
- มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
- งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
- ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
- การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
- ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
- ลาวขับรถทางขวา
- ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
- เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
- ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
- อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
- ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
- เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
- มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
- มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
- ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
- มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
- ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
- เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
- มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
- ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
- มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
- ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
- เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
- ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
- ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
- ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
- ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
- แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
- การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
- เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
- ใช้ปากชี้ของ
- กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
- ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
- รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
- แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
- การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
- การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
- ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
- ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
- ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
- มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
- ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
- ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
- คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
- ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
- ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
- เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
- มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
- ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
- ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
- สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
- ทักทายกันด้วยการไหว้
- ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
- ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
- การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย


วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสดาสยามบรมราชกุมารี


ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอห้วยยอด จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสดาสยามบรมราชกุมารี
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน โดยมีพิธีทางศานา ทำบุญ ร่วมกับสมาชิกห้องสมุด และบุลากร กศน.อำเภอห้วยยอด










วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักการวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู

หลักการวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู

การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและดู

                สังคมปัจจุบันช่องทางการนำเสนอข้อมูลให้ดูและฟังจะมีมากมาย  ดังนั้นผู้เรียนควรรู้จักเลือกที่จะดูและฟัง  เมื่อได้รับรู้ข้อมูลแล้ว  การรู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อนำไปใช้ในทางสร้างสรรค์  เป็นสิ่งจำเป็นเพราะผลที่ตามมาจากการดูและฟังจะเป็นผลบวกหรือลบแก่สังคม  ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้นี่เอง  นั่นคือผลดีจะเกิดแก่สังคมก็เมื่อผู้ดูและฟังนำผลที่ได้นั้นไปใช้อย่างสร้างสรรค์  หรือในปัจจุบันจะมีสำนวนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายว่าคิดบวกนั่นเอง
เมื่อรู้จักหลักในการดูและฟังแล้ว  ควรจะรู้จักประเภทเพื่อแยกแยะในการนำไปใช้ประโยชน์  ซึ่งอาจสรุปประเภทได้ดังนี้
1.  สื่อโฆษณา  สื่อประเภทนี้ผู้ฟังต้องรู้จุดมุ่งหมาย  เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อให้คล้อยตาม  อาจไม่สมเหตุสมผล  ผู้ฟังต้องพิจารณาไตร่ตรองก่อนซื้อหรือก่อนตัดสินใจ
2.  สื่อเพื่อความบันเทิง  เช่น เพลง, เรื่องเล่า ซึ่งอาจมีการแสดงประกอบด้วย เช่น นิทาน นิยาย หรือสื่อประเภทละคร สื่อเหล่านี้ผู้รับสารต้องระมัดระวัง  ใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะซื้อหรือทำตาม  ปัจจุบันรายการโทรทัศน์จะมีการแนะนำว่าแต่ละรายการเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใด  เพราะเชื่อกันว่าถ้าผู้ใดขาดความคิดในเชิงสร้างสรรค์แล้ว  สื่อบันเทิงอาจส่งผลร้ายต่อสังคมได้  เช่น ผู้ดูเอาตัวอย่างการจี้, ปล้น, การข่มขืนกระทำชำเรา  และแม้แต่การฆ่าตัวตาย  โดยเอาอย่างจากละครที่ดูก็เคยมีมาแล้ว
3.  ข่าวสาร  สื่อประเภทนี้ผู้รับสารต้องมีความพร้อมพอสมควร  เพราะควรต้องรู้จักแหล่งข่าว ผู้นำเสนอข่าว การจับประเด็น ความมีเหตุมีผล รู้จักเปรียบเทียบเนื้อหาจากที่มาของข่าวหลาย ๆ แห่ง เป็นต้น
4. ปาฐกถา  เนื้อหาประเภทนี้ผู้รับสารต้องฟังอย่างมีสมาธิเพื่อจับประเด็นสำคัญให้ได้  และก่อนตัดสินใจเชื่อหรือนำข้อมูลส่วนใดไปใช้ประโยชน์ต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆอยู่บ้าง
5.  สุนทรพจน์ สื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไม่ยาว และมีใจความที่เข้าใจง่าย ชัดเจน แต่ผู้ฟังจะต้องรู้จักกลั่นกรองสิ่งที่ดีไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
สรุปการฟังอย่างสร้างสรรค์นี้จะต้อง
-                   รู้จุดมุ่งหมายของสารที่ดูและฟังนั้น
-                   รับฟังและดูอย่างตั้งใจและทำความเข้าใจ
-                   รู้จักสรุปและเลือกนำไปใช้ประโยชน์
หลักและแนวทางการฟังและดูอย่างสร้างสรรค์
                1.  ต้องเข้าใจความหมาย  หลักเบื้องต้นจองการจับใจความของสารที่ฟังและดูนั้น  ต้องเข้าใจความหมายของคำ  สำนวนประโยคและข้อความที่บรรยายหรืออธิบาย
2.  ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ  ข้อความแต่ละข้อความต้องมีใจความสำคัญของเรื่องและใจความสำคัญของเรื่องจะอยู่ที่ประโยคสำคัญ ซึ่งเรียกว่า ประโยคใจความ  ประโยคใจความจะปรากฏอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของข้อความ  โดยปกติจะปรากฏอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง และตอนท้าย  หรืออยู่ตอนต้นและตอนท้ายของข้อความผู้รับสารต้องรู้จักสังเกต  และเข้าใจการปรากฏของประโยคใจความในตอนต่าง ๆ ของข้อความ  จึงจะช่วยให้จับใจความได้ดียิ่งขึ้น
3.  ต้องเข้าใจในลักษณะประโยคใจความ  ประโยคใจความ คือข้อความที่เป็นความคิดหลัก  ซึ่งมักจะมีเนื้อหาตรงกับหัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง “สุนัข” ความคิดหลักคือ สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่รักเจ้าของ  แต่การฟังเรื่องราวจากการพูดบางทีไม่มีหัวข้อ  แต่จะพูดตามลำดับของเนื้อหา  ดังนั้นการจับใจความสำคัญต้องฟังให้ตลอดเรื่องแล้วจับใจความว่า  พูดถึงเรื่องอะไร คือจับประเด็นหัวเรื่อง  และเรื่องเป็นอย่างไรคือ สาระสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่องนั่นเอง
4.  ต้องรู้จักประเภทของสาร  สารที่ฟังและดูมีหลายประเภท  ต้องรู้จักและแยกประเภทสรุปของสารได้ว่า เป็นสารประเภทข้อเท็จจริง  ข้อคิดเห็นหรือเป็นคำทักทายปราศรัย ข่าว ละคร สารคดี จะได้ประเด็นหรือใจความสำคัญได้ง่าย
5.  ต้องตีความในสารได้ตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร  ผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะส่งสารต่าง ๆ กับบางคนต้องการให้ความรู้  บางคนต้องการโน้มน้าวใจ และบางคนอาจจะต้องการส่งสารเพื่อสื่อความหมายอื่น ๆ ผู้ฟังและดูต้องจับเจตนาให้ได้  เพื่อจะได้จับสารและใจความสำคัญได้
                6.  ตั้งใจฟังและดูให้ตลอดเรื่อง  พยายามทำความเข้าใจให้ตลอดเรื่อง  ยิ่งเรื่องยาวสลับซับซ้อนยิ่งต้องตั้งใจเป็นพิเศษและพยายามจับประเด็นหัวเรื่อง  กริยาอาการ ภาพและเครื่องหมายอื่น ๆ ด้วนความตั้งใจ
7.  สรุปใจความสำคัญ  ขั้นสุดท้ายของการฟังและดูเพื่อจับใจความสำคัญก็คือสรุปให้ได้ว่า เรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรและทำไม หรือบางเรื่องอาจจะสรุปได้ไม่ครบทั้งหมดทั้งนี้ย่อมขึ้นกับสารที่ฟังจะมีใจความสำคัญครบถ้วนมากน้อยเพียงใด

วิจารณญาณในการฟังและดู
                พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ วิจารณญาณไว้ว่า ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง  คำนี้มาจากคำว่า พิจารณ์ หรือวิจารณ์ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่า การคิดใคร่ครวญโดยใช้เหตุผลและคำว่า ญาณ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่าปัญหาหรือ ความรู้ในชั้นสูง
วิจารณญาณในการฟังและดู  คือการรับสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญโดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบแล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
การฟังและดูให้เกิดวิจารณญาณนั้นมีขั้นตอนในการพัฒนาเป็นลำดับบางทีก็อาจเป็นไปอย่างรวดเร็ว  บางทีก็ต้องอาศัยเวลา  ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้  ประสบการณ์ของบุคคลและความยุ่งยากซับซ้อนของเรื่องหรือสารที่ฟัง




ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณมีดังนี้
                1.  ฟังและดูให้เข้าใจเรื่อง  เมื่อฟังเรื่องใดก็ตามผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเรื่องนั้นให้เข้าใจตลอดเรื่อง  ให้รู้ว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร  มีสาระสำคัญอะไรบ้าง พยายามทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด
2.  วิเคราะห์เรื่อง  จะต้องพิจารณาว่าเรื่องเป็นเรื่องประเภทใดเป็นข่าว  บทความ เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทสนทนา สารคดี ละคร และเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นต้องวิเคราะห์ลักษณะของตังละคร และกลวิธีในการเสนอสารของผู้ส่งสารให้เข้าใจ
3.  วินิจฉัยเรื่อง  คือการพิจารณาเรื่องที่ฟังว่าเป็นข้อเท็จจริง  ความรู้สึกความคิดเห็นและผู้ส่งสารหรือผู้พูดผู้แสดงมีเจตนาอย่างไรในการพูดการแสดง  อาจจะมีเจตนาที่จะโน้มน้าวในจรรโลงหรือแสดงความคิดเห็น  เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่และมีคุณค่ามีประโยชน์เพียงใด


สารที่ให้ความรู้
                สารที่ให้ความรู้บางครั้งก็เข้าใจง่าย  แต่งบางครั้งที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนก็จะเข้าใจยาก  ต้องใช้การพินิจพิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง  ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเรื่องที่เข้าใจง่ายหรือเข้าใจยาก  ผู้รับมีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังเพียงใด  ถ้าเป็นข่าวหรือบทความเกี่ยวหับเกษตรกรผู้มีอาชีพเกษตรย่อมเข้าใจง่าย  ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจนักธุรกิจก็จะได้เข้าใจง่ายกว่าผู้มีอาชีพเกษตร  และผู้พูดหรือผู้ส่งสารก็มีส่วนสำคัญ  ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีรู้วิธีเสนอ ก็จะเข้าใจได้ง่าย
ข้อแนะนำในการรับสารที่ให้ความรู้โดยใช้วิจารณญาณมีดังนี้
                1.  เมื่อได้รับสารที่ให้ความรู้เรื่องใดต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์ควรแก่การใช้วิจารณญาณมากน้อยเพียงใด
2.  ถ้าเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความ สารคดี ข่าว หรือความรู้เรื่องใดก็ตาม  ต้องฟังด้วยความตั้งใจจับประเด็นสำคัญให้ได้  ต้องตีความหรือพินิจพิจารณาว่า ผู้ส่งสารต้องการส่งสารถึงผู้รับคืออะไร  และตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ ที่ฟังร่วมกันมาว่าพิจารณาได้ตรงกันหรือไม่อย่างไร  หากเห็นว่าการฟังและดูของเราต่างจากเพื่อนด้อยกว่าเพื่อนจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้มีปะสิทธิภาพการฟังพัฒนาขึ้น
3.  ฝึกการแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เจตคติของผู้พูดหรือแสดงที่มีต่อเรื่องที่พุดหรือแสดงและฝึกพิจารณาตัดสินใจว่าสารที่ฟังและดูนั้นเชื่อถือได้หรือไม่  และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
4.  ขณะที่ฟังควรบันทึกสาระสำคัญของเรื่องไว้  ตลอดทั้งประเด็นการอภิปรายไว้เพื่อนำไปใช้
5.  ประเมินสารที่ให้ความรู้ว่า  มีความสำคัญมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด มีแง่คิดอะไรบ้าง และผู้ส่งสารมีกลวิธีในการถ่ายทอดที่ดีน่าสนใจอย่างไร
6.  นำคุณค่าประโยชน์ข้อคิด ความรู้และกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต  พัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม
สารที่โน้มน้าวใจ
สารที่โน้มน้าวใจเป็นสารที่เราพบเห็นประจำจากสื่อมวลชน  จากการบอกเล่าจากปากหนึ่งไปสู่ปากหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลายอย่างทั้งที่ดี และไม่ดี มีประโยชน์หรือให้โทษจุดมุ่งหมายที่ให้ประโยชน์ก็คือ  โน้มน้าวใจให้รักชาติบ้านเมือง  ให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด ให้รักษาสิ่งแวดล้อม ให้รักษา
สาธารณสมบัติและประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม  ในทางตรงข้ามผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความเสียหาย  มุ่งหมายที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกปั่น ยุยงให้เกิดการแตกแยก  ดังนั้นจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดพิจารณาให้ดีกว่าสารนั้นเป็นไปในทางใด
การใช้วิจารณญาณสารโน้มน้าวใจควรปฏิบัติดังนี้
                        1.  สารนั้นเรียกร้องความสนใจมากน้อยเพียงมด หรือสร้างความเชื่อถือของผู้พูดมากน้อยเพียงใด
2.  สารที่นำมาเสนอนั้น สนองความต้องการพื้นฐานของผู้ฟังและดุอย่างไรทำให้เกิดความปรารถนาหรือความว้าวุ่นขึ้นในใจมากน้อยเพียงใด
3.  สารได้เสนอแนวทางที่สนองความต้องการของผู้ฟังและดูหรือมีสิ่งใดแสดงความเห็นว่าหากผู้ฟังและดูยอมรับข้อเสนอนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร
4.  สารที่นำมาเสนอนั้นเร้าใจให้เชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด และต้องการให้คิดหรือปฏิบัติอย่างไรต่อไป
5.  ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจนั้นมีลักษณะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์อย่างไรบ้าง


สารที่จรรโลงใจ
                ความจรรโลงใจ  อาจได้จากเพลง ละคร ภาพยนตร์ คำประพันธ์ สุนทรพจน์ บทความบางชนิด คำปราศรัย พระธรรมเทศนา โอวาท ฯลฯ เมื่อได้รับสารดังกล่าวแล้วจะเกิดความรู้สึกสบายใจ สุขใจ คลายเครียด เกิดจินตนาการ มองเห็นภาพและเกิดความซาบซึ้ง  สารจรรโลงใจจะช่วยยกระดับจิตใจมนุษย์ให้สูงขึ้นประณีตขึ้น  ในการฝึกให้มีวิจารณญาณในสารประเภทนี้ควรปฏิบัติดังนี้
1.  ฟังและดูด้วยความตั้งใจ  แต่ไม่เคร่งเครียดทำใจให้สบาย
2.  ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญ  ใช้จินตนาการไปตามจุดประสงค์ของสารนั้น
3.  ต้องพิจารณาว่าสิ่งฟังและดูให้ความจรรโลงในด้านใด อย่างไรและมากน้อยเพียงใด  หากเรื่องนั้นต้องอาศัยเหตุผล ต้องพิจารณาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
4.  พิจารณาภาษาและการแสดง  เหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาและผู้รับสารหรือไม่เพียงใด


การวิเคราะห์และวิจารณ์สาร
ความหมายของการวิเคราะห์ การวินิจและการวิจารณ์
          การวิเคราะห์  หมายถึง การที่ผู้ฟังและผู้ดูรับสารแล้วพิจารณาองค์ประกอบออกเป็นส่วน ๆ นำมาแยกประเภทลักษณะ สาระสำคัญของสาร กลวีการเสนอและเจตนาของผู้ส่งสาร
การวินิจ  หมายถึง การพิจารณาสารด้วยความเอาใจใส่ ฟังและดูอย่างไตรตรองพิจารณาหาเหตุผล แยกแยะข้อดีข้อเสีย คุณค่าของสาร ตีความหมายและพิจารณาสำนวน ภาษา ตลอดจนน้ำเสียงและการแสดงของผู้ส่งสาร  พยายามทำความเข้าใจความหายที่แท้จริงเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้วินิจ
การวิจารณ์  หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่า น่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้มีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย
ตามปกติแล้ว  เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด  จะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สาร วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว  จึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้
การวิจารณ์  ที่รับฟังมาก็เช่นเดียวกัน  ต้องผ่านการวิเคราะห์ วินิจ และประเมินค่าสารนั้นมาก่อนและการวิจารณ์แสดงความคิดเห็นที่จะทำได้อย่างมรเหตุมีผลน่าเชื่อถือนั้น  ผู้รับสารจะต้องรู้หลักเกณฑ์การวิจารณ์แสดงความคิดเห็นตามชนิดของสารเพราะสารแต่ละชนิดย่อมมีองค์ประกอบเฉพาะตัว เช่น ถ้าเป็นข่าวต้องพิจารณาความถูกต้องตามความเป็นจริง  แต่ถ้าเป็นละครจุดูความสมจริง  และพิจารณาโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ฉาก ตัวละคร ภาษาที่ใช้ บาบาทการแสดง ฯลฯ นอกจากรู้หลักเกณฑ์แล้วจะต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ และอ่านตัวอย่างงานวิจารณ์ของผู้อื่นที่เชี่ยวชาญให้มาก  ก็จะช่วยให้การวิจารณ์ดีมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ


สรุป 
                1.  วิจารณญาณในการฟังและดู  หมายถึงการรับสารให้เข้าใจตลอดเรื่องแล้วใช้ปัญญาคิดไตรตรอง  โดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์เดิมแล้วสามารถนำสาระต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม  โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.1  ฟังและดูให้เข้าใจตลอดเรื่อง
1.2  วิเคราะห์เรื่อง  ว่าเป็นเรื่องประเภทใด  ลักษณะของเรื่องและตัวละครเป็นอย่างไร  มีกลวิธีในการเสนอเรื่องอย่างไร
1.3  วินิจฉัย  พิจารณาเรื่องที่ฟังเป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น เจตนาของผู้เสนอเป็นอย่างไร มีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่
1.4  การประเมินค่าของเรื่อง  ผ่านขั้นตอน 1 – 3 แล้ว ก็ประมาณว่าเรื่องหรือสารนั้นดีหรือไม่ดี มีอะไรที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
1.5  การนำไปใช้ประโยชน์  ผ่านขั้นตอนที่ 1 – 4 แล้ว ขั้นสุดท้ายคือ นำคุณค่าของเรื่องที่ฟังและดูไปใช้ได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
2.  การวิเคราะห์  หมายถึงการแยกแยะประเภท ลักษณะ สาระสำคัญและการนำเสนอพร้อมทั้งเจตนาของผู้พูดหรือผู้เสนอ
การวินิจ  หมายถึงการพิจารณาเรื่องอย่างไตรตรอง  หาเหตุผลข้อดีข้อเสีย  และคุณค่าของสาร
                การวิจารณ์  หมายถึง การพิจารณาอย่างมีหลักเกณฑ์ในเรื่องที่ฟังและดู  ว่ามีอะไรน่าคิดน่าสนใจ น่าติดตาม น่าชมเชย น่าชื่นชมและมีไรบกพร่องบ้าง
                การวิจารณ์สารหรือเรื่องที่ได้ฟังและดู  เมื่อได้วิเคราะห์และวินิจและใช้วิจารณญาณในการฟังและดูเรื่องหรือสารที่ได้รับแล้วก็นำผลมารายงานบอกกล่าวแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งนั้น  อย่างมีเหตุผล มีหลักฐานประกอบ  และเป็นสิ่งสร้างสรรค์

หลักการฟังอย่างวิจารณญาณ การฟังอย่างวิจารณญาณมีหลักปฏิบัติดังนี้
ผู้ฟังพิจารณาว่า ฟังเรื่องอะไรเป็นการฟังประเภทบทความ บทสัมภาษณ์การเล่าเรื่องสรุปเหตุการณ์ ใครเป็นคนพูดคนสัมภาษณ์ ใครเป็นคนเขียนบทความ และหัวข้อนั้นมีคุณค่าแก่การฟังหรือไม่
1.1 พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีจุดมุ่งหมาย และมีความจริงใจในการส่งสารนั้นเพียงใด
1.2 พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีความรู้ ประสบการณ์หรือความใกล้ชิดกับเรื่องราวในสารนั้นเพียงใด
1.3 พิจารณาผู้ส่งสารว่าใช้กลวิธีในการส่งสารนั้นอย่างไร คือวิธีการธรรมดาหรือยอกย้อนซ่อนปมอย่างไร
1.4 พิจารณาเนื้อหาของสารว่า ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น
1.5 พิจารณาสารว่าเป็นไปได้ และควรเชื่อเพียงใด
1.6 ผู้ฟังควรประเมินว่าสิ่งที่ฟังมีประโยชน์และมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร
หลักการแยกข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง ในการรับฟังสาร นอกจากจะจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังแล้ว นักเรียนจะต้องแยะแยะได้ว่า ใจความตอนใดเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูดซึ่งจะมีลักษณะเมื่อพิจารณาความถูกต้องได้ยาก และตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นมีดังนี้
1. การแยกข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ เห็นว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ได้จากตัวเลขเชิงปริมาณต่างๆ ที่มีอยู่ซึ่งทำการตรวจสอบได้ดังนี้ เช่นประชา หนัก 50 กิโลกรัม ,โอภาสสูงกว่าเสกสรรค์
2. ความคิดเห็นเป็นเรื่องของการคาดคะเนหรือการทำนายโดยอาศัยเหตุผลส่วนตัวซึ่งควรจะเปิดโอกาสให้มีการโต้แย้งหรือสนับสนุน เช่นของเก่าดีกว่าของใหม่ มีเงินดีกว่ามีเกียรติ

ที่มา: http://kunkrunongkran.wordpress.com/

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิสุทธิ์ ขาวเนียม นักเขียนเมืองตรัง

ชมภาพชุด วิสุทธิ์ ขาวเนียม กวีหนุ่มชาวตรัง รับรางวัลชนะเลิศ ‘เซเว่นบุ๊คอวอร์ด’ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 หนังสือประเภทกวีนิพนธ์ ‘ลมมลายู’


สูจิบัตร ผลการประกวดหนังสือดีเด่น รางวัล 'เซเว่นบุ๊คอวอร์ด'
รายนามคณะกรรมการตัดสิน ประเภทกวีนิพนธ์
คำนิยม ของคณะกรรมการตัดสิน
ปกหนังสือ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก
(เป็นหนังสือเล่มแรกของสำนักพิมพ์ฅนตรัง)
วิสุทธิ์ ขาวเนียม ตอนสายๆ ของวันรับรางวัล
28 พฤศจิกายน 2551
เขาแต่งตัวหล่อกว่าตอนอยู่ที่บ้าน วันที่ไปดักกระรอก ยิงนก ตกปลา กับเด็กๆ ข้างบ้าน ค่อนข้างมาก
มาดูกันใกล้ๆ โฉมหน้ากวีหนุ่มชาวตรัง
ผลงานที่ภาคภูมิใจ... นานแล้ว ที่คนจังหวัดตรัง ไม่ได้รับรางวัลประเภทนี้
อืมมมม... อีก 2 ปี ข้างหน้า ผมน่าจะกลับมากรุงเทพฯอีกครั้ง เพื่อรับรางวัลซีไรต์...
เอ้า... ต่างคนต่างถือ  'ลมมลายู' ใหญ่กว่า ก็แหม... ขนาด เอ4 เชียวนะนั่น...
เขินสิท่า... ถ่ายกับพี่จิ๊ด จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ชาวตรัง
รับโล่พระราชทาน ในสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ
รับรางวัลจากรองวศิษฐ์ เดชกุญชร ณ อยุธยา
หายเหนื่อยครับ...
โล่รางวัลสำหรับสำนักพิมพ์ฅนตรัง ที่วิสุทธิ์เป็นผู้รับแทน
เอ้า...มาถ่ายภาพกันหน่อย... มองกันไปคนละทางเลยเชียว...
คณะกรรมการ...
เสริมความหล่อ ก่อนจะบันทึกเทปรายการโทรทัศน์ ช่อง 5
วิสุทธิ์บอกว่า จะออกอากาศวันที่ 5 ธ.ค. 51 เวลา 9 โมงเช้า
เสร็จแล้ว...ลงเรือข้ามฟาก ม่ายรู้จะไปไหนกัน...
แม่น้ำเจ้าพระยา ยามเย็น สวยจัง...
ชมภาพชุด วิสุทธิ์ ขาวเนียม กวีหนุ่มชาวตรัง
รับรางวัลชนะเลิศ เซเว่นบุ๊คอวอร์ด’ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551
หนังสือประเภทกวีนิพนธ์ ลมมลายู

             วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 วิสุทธิ์ ขาวเนียม กวีหนุ่มชาวตรัง เดินทางไปรับรางวัลชนะเลิศ เซเว่นบุ๊ค อวอร์ด ประเภทกวีนิพนธ์ลมมลายู’ ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร
             กวีนิพนธ์ ลมมลายู เป็นหนังสือรวมบทกวีชุดที่กำลังเผยแพร่อยู่ในหนังสือพิมพ์ฅนตรัง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายปักษ์ของจังหวัดตรัง และส่งเข้าประกวดครั้งนี้ในนามของสำนักพิมพ์ฅนตรัง โดยจัดพิมพ์เพียงจำนวนน้อยเพื่อการส่งเข้าประกวดเท่านั้น
             ท่านผู้อ่านที่มีความสนใจหนังสือเล่มนี้ โปรดรอคอยการพิมพ์ครั้งต่อไป ที่กำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม นี้
             อนึ่ง วิสุทธิ์ ขาวเนียม เคยเป็นนักเขียนเจ้าของผลงาน วิหารใบไม้ ซึ่งเข้ารอบ 16 คนสุดท้าย ในการประกวดชิงรางวัลซีไรต์ ประเภทบทกวี เมื่อปีที่แล้ว (2550)

...........................................................

คำนิยม โดย วานิช สุนทรนนท์
บรรณาธิการสำนักพิมพ์ฅนตรัง
ในโอกาสพิมพ์ ‘ลมมลายู ครั้งแรก พฤษภาคม 2551

ลมมลายู วิสุทธิ์ ขาวเนียม...
บทกวีที่จดจารสวยงามถึงความรวดร้าว
ของคนบนแผ่นดิน 3 จังหวัดภาคใต้


             ความจริงแล้ว ผมเพิ่งรู้จักกับวิสุทธิ์ ขาวเนียม มาได้ไม่นานนัก...
             พลันที่โบกมืออำลาจากชีวิตการเมืองในท้องถิ่นเล็กๆ แห่งหนึ่ง เพื่อหันเหลมหายใจให้มาสู่เส้นทางของคนทำหนังสือพิมพ์ ผมก็รู้สึกได้ว่ามีคนอย่างน้อยๆ ก็กลุ่มหนึ่งที่เฝ้ามองว่า ผมกำลังจะทำหนังสือพิมพ์ฅนตรัง ด้วยใจที่ต้องการจะส่งสาส์นและสาระสู่ชุมชนท้องถิ่นจริงๆ หรือเพียงจะอาศัยหนังสือพิมพ์เล็กๆ ฉบับนี้ไปเสาะแสวงผลประโยชน์ใด
             กวีหนุ่มอย่าง วิสุทธิ์ ขาวเนียม ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการกล่าวขานถึงในฝีไม้ลายมือที่เนียนนุ่ม เฉียบคม ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ให้ความสนใจมาตั้งแต่ผมออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกๆ เราเคยพบปะพูดคุยกันครั้งหนึ่ง แต่ยังไปไม่ถึงวาระที่จะขอบทกวีดีๆ เพื่อนำมาลงตีพิมพ์ แม้ลึกๆ ภายในขณะนั้นอยากจะเรียกร้องเสียเหลือเกินแล้ว แต่รับรู้และเข้าใจได้ว่าเป็นห้วงยามของการดูใจ
             เวลาผ่านพ้นไปเป็นปี เรามาพบกันอีกที วันที่วิสุทธิ์ไปพูดในงานมหกรรมหนังสือภาคใต้ ที่จัดขึ้นมาเพื่อคนทับเที่ยง ก่อนจะแยกย้ายกันกลับหลังเลิกงาน วิสุทธิ์มากระซิบกับผมว่า พี่อย่าเพิ่งไป เดี๋ยวเอากลอนผมไปลงด้วย
             เป็นความรู้สึกดีๆ ที่เป็นสุขขึ้นในฉับพลัน มิเพียงเพราะผมจะมีบทกวีระดับคุณภาพมาประดับหน้าวรรณกรรมให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น แต่ใช่หรือไม่ว่า คำบอกเล่าเพียงสั้นๆ เช่นนั้น ย่อมคล้ายจะบอกย้ำให้รับรู้ว่า รอยย่ำที่ผมเริ่มไว้บนเส้นทางสายนี้ น่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้คนมากขึ้น จากวันนั้นมาจนถึงวันนี้ หนังสือพิมพ์ฅนตรังได้รับน้ำใจดีๆ จากวิสุทธิ์ในรูปแบบของบทกวีที่สวย งาม และเพียบพร้อมด้วยคุณค่ามานับจำนวนไม่ถ้วนแล้ว        
 จู่ๆ วันหนึ่งในร้านกาแฟใจกลางเมืองตรัง วิสุทธิ์ได้นำต้นฉบับ ‘ลมมลายู ซึ่งหนากว่าสี่สิบหน้าพิมพ์ฉบับนี้ มาให้ผมดู… ใกล้จะสามสิบปี ที่ผมเรียนจบมาจากมหาวิทยาลัยริมทะเลแห่งเมืองปัตตานี วันเวลาผ่านไปนานพอที่จะหลงลืมเสียงสวดของคนที่นั่น แต่ทันทีที่อ่าน ‘ลมมลายูจากบทแรกไปจนจบที่บทสี่สิบห้า ภาพต่างๆ ของถิ่นที่เคยก่อให้เกิดความใฝ่ฝันสวยงามในวันยังหนุ่มก็พลันหลั่งไหลกลับเข้ามาสู่ความทรงจำ  
ต่างกัน... ตรงวันนี้ ผืนดินที่นั่นฉาบทาไปด้วยสีของความเจ็บปวด และเสียงร้องไห้ อย่างไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด...
            การจดจารบทกวีที่สวย เนียน และสะท้อนให้เห็นถึงชีวิต เลือด เนื้อ ความรุนแรง การสูญเสีย ความรวดร้าวของคนบนแผ่นดินที่นั่น จึงไม่ใช่ความผิดใดๆ ของกวีหนุ่มอย่าง วิสุทธิ์ ขาวเนียม...

http://www.oknation.net/